บทความ

ประชาสัมพันธ์การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2566 – 2567

⚠️ เตือนคนไทยให้ รู้-ลด-เลี่ยง ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง 💨
💨 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษอากาศที่สำคัญของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการจราจร (ไอเสียรถยนต์) การเผาป่า การเผาเศษพืชผลทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม หมอกควันข้ามแดน ปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ภาวะความกดอากาศสูงที่ทําให้เกิดภาวะอากาศปิด ⛔
.
นอกจากนี้ยังเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2) และออกไซต์ของไนโตรเจน (NOx) รวมท้ังสารพิษอื่น ๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ☣️
.
ซึ่งผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มระดับความรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายของเรา จากการสะสมของฝุ่นละอองภายในปอดเป็นระยะเวลายาวนาน โดยระดับของอาการจะรุนแรงแตกต่างกัน ดังนี้
.
📌 1.ไอ จาม และภูมิแพ้ : พบได้เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในโพรงจมูกเวลาที่หายใจเข้าและออก ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองในจมูกและลำคอ มีเสมหะ ไอ จาม โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
.
📌 2.โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง : พบได้ในกรณีที่เป็นอาการไอต่อเนื่องนาน 3-8 สัปดาห์ขึ้นไป มีเสมหะเป็นสีขาว สีเหลือง หรือมีเลือดปน นอกจากนี้จะรู้สึกเกิดอาการเหนื่อย โดยอาจเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
.
📌 3.โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง : พบได้ในกรณีที่ฝุ่นละอองเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดและผนังหัวใจ อาการที่พบคือ มีอาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น เหนื่อยหรือแน่นขณะออกแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
.
📌 4.โรคปอดเรื้อรัง และมะเร็งปอด : พบได้ในกรณีที่สูดเอาฝุ่นละออง PM 2.5 สะสมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากหมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งอาจรุนแรงและกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่อาจลุกลามไปทั่วปอด เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดได้
.
❗โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อทุกคนที่พบเจอ และอาจเป็นอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจเกิดโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กเล็ก เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้ที่ต้องปฏิบัติงานหรือออกกำลังกายในสถานที่กลางแจ้ง เป็นต้น
#โรครว้ายๆวัยทำงาน ขอแนะนำ 3 แนวทางรับมือและป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่จำง่ายๆ มาฝากกับ “รู้-ลด-เลี่ยง”
.
✅ รู้ : ตรวจสอบสภาพอากาศทุกครั้งก่อนเดินทางออกจากบ้าน ผ่านการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในแอปพลิเคชัน Air4thai และเพจ “คนรักอนามัย ใสใจ อากาศ PM 2.5” หรือติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข
.
✅ ลด : ลดการสร้างมลพิษ ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 เช่น จุดธูป เผากระดาษ ปิ้งย่างท่ีทําให้เกิดควัน การเผาใบไม้ เผาขยะ เผาพืชผลทางการเกษตร เป็นตน รวมถึงการติดเครื่องยนต์ในบ้านเป็นเวลานาน
.
✅ เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองสูง การอยู่กลางแจ้ง หรือทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานาน ในช่วงที่ฝุ่นละออง PM 2.5 มีปริมาณมากกว่า 26 – 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ
.
🛡️ การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยแนวทางที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ชีวิตและปฏิบัติงาน โดยเราควรความตระหนักและเฝ้าระวังสุขภาพอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากฝุ่นละออง ทั้งต่อตนเองและคนรอบตัวอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมแนวทาง ‘รู้-ลด-เลี่ยง” ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันกันด้วยนะคะ 👌
.
#โรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ภายใต้ พ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
.
ขอบคุณที่มาจาก : แนวทางมาตรการการเฝ้าระวังสุขภาพและสื่อสารความเสี่ยง เพื่อสร้างความรอบรู้ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5), กองโรคติดต่อจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูลข่าวสาร ประจำเดือน