ประวัติความเป็นมาของตำบลถ้ำรงค์ เดิมตำบลถ้ำรงค์ เป็นพื้นที่เดียวกันกับตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งขณะนั้นมีจำนวนหมู่บ้าน
ทั้งหมด ๑๒ หมู่บ้าน และต่อมาเมื่อ ปี ๒๕๒๒ ได้มีการแบ่งแยกตำบลถ้ำรงค์ออกจากตำบลตำหรุ โดยมีแม่น้ำเพชรบุรีเป็นเส้นแบ่งแนวเขต และ
มีหมู่บ้านอยู่ในเขตปกครอง จำนวน ๖ หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์ ได้ยกฐานะมาจากสภาตำบล ตามระราชบัญญัติสภาตำบลและ
องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม
๒๕๔๒ และมีการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๓ ที่ทำการในปัจจุบัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
จัดชั้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้นกลาง เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๑
คำขวัญของตำบลถ้ำรงค์
“เขาถ้ำรงค์รูปช้าง ยางนาใหญ่ แม่น้ำเพชรใส หลวงพ่อเทพเลื่องลือไกล พระดำใหญ่คู่ตำบล”
“ถ้ำรงค์น่าอยู่ สู่ประชาคมอาเซียน ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรปลอดภัย ทันสมัยเทคโนโลยี”
กำหนดพันธกิจหลักที่ จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
พันธกิจที่ ๑
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้รับการจัดสวัสดิการทางสังคมสามารถดำรงชีพอย่างมีความสุข และสามารถคงไว้ซึ่งศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตชุมชนโดยทุกภาคมีส่วนร่วม
พันธกิจที่ ๒
สนับสนุนให้ประชาชนมีน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ
พันธกิจที่ ๓
พัฒนาระบบการบริหาร และการบริการให้สามารถอำนวยความสะดวกและบริการให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานกับ อบต.
พันธกิจที่ ๔
สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ ให้ดำเนินไป ด้วยความเข้มแข็งมั่นคง เสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
พันธกิจที่ ๕
อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลกับระบบนิเวศและให้มี การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และรวมทั้งลดความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมการพัฒนา
พันธกิจที่ ๖
พัฒนาศักยภาพและลักษณะทางกายภาพ การปรับปรุงพื้นที่และการก่อสร้างทางคมนาคมระบบสาธารณูปโภค การผังเมือง อันเป็นการส่งเสริมความสะดวกในการอยู่อาศัย การประกอบอาชีพและการท่องเที่ยว
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
หมู่ที่ 1 บ้านท่ามะเฟือง | 167 ครัวเรือน | 251 คน | 249 คน | 500 คน |
หมู่ที่ 2 บ้านม่วงงาม | 202 ครัวเรือน | 317 คน | 346 คน | 663 คน |
หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำรงค์ | 104 ครัวเรือน | 135 คน | 166 คน | 301 คน |
หมู่ที่ 4 บ้านไร่สะท้อน | 191 ครัวเรือน | 244 คน | 254 คน | 498 คน |
หมู่ที่ 5 บ้านดอนตะโก | 220 ครัวเรือน | 406 คน | 417 คน | 823 คน |
หมู่ที่ 6 บ้านหนองช้างตาย | 161 ครัวเรือน | 297 คน | 275 คน | 572 คน |
ข้อมูลรวม | 1,045 ครัวเรือน | 1,650 คน | 1,707 คน | 3,357 คน |
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เป็นตำบลหนึ่ง ใน ๑๘ ตำบล ของอำเภอบ้านลาดห่างจาก ที่ว่าการอำเภอบ้านลาด
ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
เนื้อที่ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๖,๔๓๘ ไร่ ( ๑๐.๓ ตารางกิโลเมตร )
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึง มีภูเขาเตี้ย ๆ มีลําห้วยไหลผ่านทุกหมู่บ้าน และมี แม่น้ําเพชรบุรีไหลผ่านทางทิศตะวันตก เหมาะแก่การ
ทําการเกษตรกรรม เช่น ทํานา ทําสวนผลไม้ เป็นต้น มีถนน เพชรเกษมตัดผ่านตําาบล มีถนนสายบ้านลาด-พุกาม เป็นสายหลักภายในตําบลและ
ถนนเรียบคลองชลประทานทําให้การคมนาคมสะดวกในการสัญจรภายในตําบลและกับตําบลใกล้เคียงรวมถึงการขนส่งสินค้าพืชผลออกสู่ตลาดได้
รวดเร็ว มีแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตคนบ้านลาด อาทิ เช่น สวนตาลลุงถนอม การยีโตนด ศูนย์วัฒนธรรมเครื่องใช้ โบราณวัดม่วงงาม
ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด และป่ายางนา เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ (ที่มา : สํานักงานอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเพชรบุรีและแผนพัฒนาจังหวัดสี่ปี)
ตําบลถ้ํารงค์อยู่ใกล้กับตัวจังหวัดเพชรบุรี จึงมีลักษณะภูมิอาศคล้ายคลึงกับจังหวัด เพชรบุรีจังหวัดเพชรบุรีอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม
ที่พัดเวียนเป็นประจําเป็นฤดูกาล ๒ ชนิด คือ พัดจากทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว เรียกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งอยู่ทางตอนบนของ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนน้อยในช่วงฤดูหนาว และมีอากาศเย็นเป็นครั้งคราวคล้ายคลึงกับภาคกลาง แต่ในช่วงต้น
ฤดูอาจมีฝนตกชุกได้ ส่วนมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดประจําในฤดูฝน และเป็นลมที่พัด ผ่านมหาสมุทรอินเดีย
จึงทําให้ประเทศไทยมีฝนตกมาก แต่เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรีอยู่หลังทิวเขาตะนาวศรีซึ่งปิด กั้นทางลมนี้ไว้จึงเป็นที่อับฝน และมีฝนตกน้อยในช่วงฤดูฝน
ฝนส่วนใหญ่จะตกมากในช่วงฤดูหนาวคือระหว่างเดือน ตุลาคมถึงพฤศจิกายน แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดูดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์
ลักษณะของดิน
ลักษณะดินในตําบลถ้ํารงค์ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน และดินเหนียวปนทรายตามลําดับ ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าวและพืชสวน
เช่น มะนาว ชมพู่ มะม่วง กล้วยและพืชผักสวนครัว
ลักษณะของแหล่งนํ้า
มีลําห้วยไหลผ่านทุกหมู่บ้าน และมีแม่น้ําเพชรบุรีไหลผ่านทางทิศตะวันตก เหมาะแก่ การทําการเกษตรกรรม เช่น ทํานา ทําสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมี
ลําห้วย ลําน้ํา ๔ สาย บึง หนอง จํานวน ๒ สาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ําธรรมชาติ และมีแหล่งน้ําที่สร้างขึ้น เช่น เหมือง คลองชลประทาน เป็นต้น
ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในพื้นที่ตําบลถ้ํางค์เป็นพื้นที่ลาบลุ่ม มีแต่มีภูเขาเตี้ยๆ จํานวน ๓ ลูก มีต้นยางนาที่ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้และต้นตาลขึ้นอยู่ทั่วไป
มีอาณาเขตติดต่อกับตําบลต่างๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตําาบลไร่มะขาม อําเภอบ้านลาด
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตําาบลท่ายาง อําเภอท่ายาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตําบลไร่มะขาม อําเภอบ้านลาด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลตําหรุ อําเภอบ้านลาด
เนื้อที่ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๖,๔๓๘ ไร่ (๑๐.๓ ตารางกิโลเมตร)
ที่มา : ประกาศกระทรวงมหาดไทย
การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตําบลมีเขตการปกครอง จํานวนหมู่บ้าน ๖ หมู่บ้าน จํานวนหมู่บ้าน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลเต็มทั้งหมู่บ้าน ๖ หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น
(๑) ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตําาบลถ้ํารงค์
สภาองค์การบริหารส่วนตําบลถ้ํารงค์ มีสมาชิกจํานวน ๖ คน มีที่มาจากการเลือกตั้งจํานวน ๖ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ คน
สภาองค์การบริหารส่วนตําบลถ้ํารงค์มีหน้าที่พิจารณาและอนุมัติงบประมาณรายจ่าย ประจําปี และเพิ่มเติม
ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตําบล และข้อบัญญัติต่างๆ ตลอดจนตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของผู้บริหาร
(๒) ฝ่ายการเมือง
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล คือ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชนในตําบล
และรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน ๒ คน (นายกแต่งตั้ง) และ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ๑ คน
(๓) ฝ่ายท้องที่
มีกํานัน และผู้ใหญ่บ้าน จํานวนหมู่บ้าน ๖ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านท่ามะเฟือง
หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงงาม
หมู่ที่ ๓ บ้านถ้ำรงค์
หมู่ที่ ๔ บ้านไร่สะท้อน
หมู่ที่ ๕ บ้านดอนตะโก
หมู่ที่ ๖ บ้านหนองช้างตาย
มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ คนชรา คนพิการ และผู้ป่วยโรคเอดส์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็ก
และเยาวชน การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมการกีฬา การจัดให้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น งานส่วนสาธารณะ
การให้คำปรึกษา แนะนำ หรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง
มีลำห้วยไหลผ่านทุกหมู่บ้าน และมีแม่น้ำเพชรไหลผ่านทางทิศตะวันตก เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ เป็นต้น มีถนนเพชรเกษม
ตัดผ่านตำบล มีถนนสายบ้านลาด-พุกาม เป็นสายหลักภายในตำบล และถนนเรียบคลองชลประทาน ทำให้การคมนาคมสะดวกในการสัญจรภายในตำบล
และกับตำบลใกล้เคียงรวมถึงการขนส่งสินค้าพืชผลออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว
การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพื้นที่ที่ลาบลุ่มและมี ลักษณะสภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย และดินร่วน
มีแหล่งน้ําที่ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ําเพชรบุรี จึงเหมาะ แก่การทําเกษตร เช่นการทํานา ทําไร่ ทําสวน เช่น มะนาว ชมพู่ มะม่วง กล้วยและพืชผักสวนครัว เป็นต้น
การประมง
พื้นที่ในตําบลถ้ํารงค์เป็นที่พื้นที่ทํานา ทําไร่ ทําสวนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ในครัวเรือนเป็นต้น
เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
การปศุสัตว์
ในตำบลถ้ำรงค์มีพื้นที่ปศุสัตว์ ประมาณ ๑๓๒ ไร่ (ข้อมูลจากสํานักงานเกษตรอําเภอบ้านลาด) ชนิดสัตว์ที่ประชาชนนิยมเลี้ยงในพื้นที่
ได้แก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เป็นต้น
การบริการ
- โรงแรม ๒ แห่ง (โรงแรมเทรซเซอร์รี่,โรงแรมท็อปอิน)
- ปั๊มนํ้ามัน ๑ แห่ง (นางนิยม เปี่ยมสิน)
- ปั๊มแก๊ส ๑ แห่ง (ปั๊มแก๊ส ปตท.)
- โรงปูนผสมเสร็จ ๑ แห่ง (นครหลวงคอนกรีต)
- ร้านค้า ๖๐ แห่ง
- ร้านอาหาร ๘ แห่ง
- ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ๑ แห่ง
การท่องเที่ยว
- สวนตาลลุงถนอม
- ไร่นาสวนผสม
- ตลาดดงยาง
- ถ้ําหลวงพ่อต๋า
- วัดเขาพรมชะแง้
- พิพิธภัณฑ์วัดม่วงงาม
การอุตสาหกรรม
- บริษัทไพบูลย์เพชรบุรี จํากัด เลขที่ ๑๒๓ หมู่ ๔
- บมจ.นครหลวงคอนกรีต เลขที่ ๖๒ หมู่ ๓
- บริษัท เพชรยิ่งเจริญ จํากัด เลขที่ ๑๒๗ หมู่ ๔
- ร้านแม่แวว
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
- กระแช่
- สวนตาล
กลุ่มอาชีพ
- ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบตาล
- ผลิตภัณฑ์จากเม็ดตาล
- ต้นตาลประดิษฐ์
- กลุ่มทํานํ้าพริกแกง
- จักสานไม้ไผ่
- กลุ่มยีโตนด
- กลุ่มเลี้ยงวัวชน
- กลุ่มเลี้ยงปลากัด
- หนังตะลุง
- เกษตรอินทร์ทรีย์
- ไร่นาสวนผสม
อาชญากรรม
ปัญหาอาชญากรรมภายในตําบลไม่มี แต่ก็มีการป้องกันโดยมีหน่วยให้บริการให้ประชาชนเกิดความรู้สึกความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่
- ที่ทําการตํารวจชุมชน ๑ แห่ง
- ศูนย์ อปพร./กู้ภัย ๑ แห่ง
- หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (FR) ๑ แห่ง
ยาเสพติด
- ปัญหายาเสพติดทางองค์การบริหารส่วนตําบลถ้ํารงค์ได้ให้ความสําคัญในการป้องกันและรณรงค์ให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด รู้ถึงโทษ
พิษภัยของยาเสพติด และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
การสงเคราะห์
- ผู้รับเบี้ยยังชีพคนชรา ๕๕๔ คน
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ ๖๐ คน
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ๘ คน
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน ๒ รุ่น
* รุ่นที่ ๑ จำนวน ๗๐ คน
* รุ่นที่ ๒ จำนวน ๑๖๓ คน
- อปพร. จำนวน ๒ รุ่น
* รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๕ คน
* รุ่นที่ ๒ จำนวน ๓๑ คน
- ทีมกู้ภัย/OTOS จำนวน ๑ ทีม
- แม่บ้านตำบล จำนวน ๑๒๐ คน
- สภาเด็กและเยาวชน จำนวน ๑ กลุ่ม
- คณะกรรมการ สปสช. จำนวน ๑ คณะ
- อาสาสมัครท้องถิ่นดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ( อสมศ.) จำนวน ๑ กลุ่ม
- กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำเพชร จำนวน ๑ กลุ่ม
ให้มีผู้อำนวยการกองการศึกษาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนการศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมการกีฬา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการศึกษา
งานสังคมสงเคราะห์ งานห้องสมุดประชาชน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
การศึกษา
(๑) โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง (ร.ร.วัดถ้ำรงค์ และ ร.ร.วัดม่วงงาม)
(๒) โรงเรียนมัธยมศึกษา ๑ แห่ง(ขยายโอกาส ม.๑ – ม.๓/ร.ร.วัดถ้ำรงค์)
(๓) ศูนย์การเรียนชุมชน ๑ แห่ง
(๔) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ แห่ง
(๕) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๗ แห่ง
(๖) หอกระจายข่าว ๗ แห่ง
สถาบันองค์กรทางศาสนา
วัด/สำนักสงฆ์ ๕ แห่ง วัดม่วงงาม, วัดถ้ำรงค์, วัดขลุบ, วัดเขาพรมชะแง้, สำนักสงฆ์เขาน้อย
การนับถือศาสนา
ประชาชนในตําบลถ้ํารงค์ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ
สถาบันองค์กรทางศาสนา
วัด ๕ แห่ง
(วัดม่วงงาม, วัดถ้ํารงค์, วัดขลุบ, วัดเขาพรมชะแง้, วัดเขาน้อยเกษโร)
ประเพณีและงานประจําปี
(๑) ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(๒) ประเพณีสงกรานต์
(๓) วันมรดกถ้ํารงค์
(๔) การละเล่นผีกระด้ง,ผีสุ่ม,ผีกะลา
(๕) การะเล่นกลองยาว
(๖) การละเล่นเห่เรือบก
(๗) การเล่นแรลลี่ล้อโตนด
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- ผลิตภัณฑ์จากเม็ดตาลโตนด
- ใบตาลประดิษฐ์
- ต้นตาลประดิษฐ์
ภาษาถิ่นที่ใช้ คือ ภาษาบ้านลาด
OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- ต้นตาลประดิษฐ์
- ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบตาล
- ผลิตภัณฑ์จากเม็ดตาล
- แกงหัวตาล
- ขนมตาล
การคมนาคมขนส่ง (ทางบก, ทางน้ํา, ทางราง ฯลฯ)
การคมนาคมของประชาชนส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์
เนื่องจากมีระยะทางไม่ไกลจากตัวอําเภอ และจังหวัดมากนัก
การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ทั้ง ๖ หมู่บ้าน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
การประปา
องค์การบริหารส่วนตําบลถ้ํารงค์มีระบบประที่อยู่ในความรับผิดชอบดูแล จํานวน ๓ แห่ง
และเป็นระบบประปาหมู่บ้าน ๒ แห่ง ประชาชนใช้ประปาร้อยละ ๙๙
โทรศัพท์
ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัวและมีผู้ส่งสัญญาณขององค์การโทรศัพท์
ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง
ตําบลถ้ํารงค์เป็นพื้นที่ที่ติดถนนเพชรเกษมเหมาะกับการขนส่งสินค้าทางถนนได้สะดวกสบาย
การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ๑ แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน ๒ แห่ง
น้ํา
- มีแม่น้ํา ๑ สาย (เพชรบุรี)
- มีคลองชลประทาน ๒ แห่ง, เหมืองคอนกรีต ๒ แห่ง, ระบบประปาหมู่บ้าน ๔ แห่ง
- ลําห้วย ๔ แห่ง (ลําห้วยอ่างหิน, ถ้ํารงค์, ดอนตะโก, หนองช้างตาย)
ป่าไม้
- มีต้นยางนาและต้นตาลขึ้นอยู่ทั่วไป
ภูเขา
- มีภูเขา ๓ ลูก (เขาถ้ํารงค์ เขาน้อย,เขาพรมชะแง้)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตําบลถ้ํารงค์มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีแม่น้ําเพชรบุรี ภูเขา ป่ายางนา และต้นตาล